วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รวมภาพตกปลา !!!
























































ภาพจาก : www.siamfishing.com
ตกปลาเป็นกีฬาอย่าวหนึ่ง ฝึกสมาธิ ทำให้ทำงานทางด้านอาชีวอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของ จป.วิชาชีพ

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

ภาพการทำงานบนที่สูงที่ไม่ปลอดภัย









































































































































ภาพการทำงานบนที่สูงที่ไม่ปลอดภัย
















ภาพเหตุการณ์เหล่านี้...เป็นการทำงานโดยประมาทขาดการตระหนักถึงอันตราย..ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันภัยบนที่สูง....ในฐานะที่คุณเป็นจป.รู้สึกอย่างไร?
















หลักการทำ5ส.


หลักการทำ5ส.
รูปแบบ 5 ส. ในสำนักงานของบริษัท
รู้ระบบของการทำ 5 ส.
รู้องค์ประกอบของการทำ 5 ส.
ได้ดูงานการจัดการ 5 ส. ที่ดี
การจัดการที่มีระบบแบบแผนชัดเจน และก็ได้ตามนั้น
ศึกษาดูงานในระบบกิจกรรม 5 ส.
ได้เห็นรูปแบบการทำงาน 5 ส.
ได้รับรู้ระบบการทำงานของบริษัท อย่างเข้าใจแท้จริง
ได้รับความรู้จากระบบการทำงานของบริษัท
วิธีสร้างความตระหนักและจิตสำนึก
ความเข้าใจหลักการ 5 ส.
วิธีการบริหารและจัดการ การปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลัก 5 ส.
นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ได้ดูงาน ดูสถานที่ ระบบการจัดการเรื่อง 5 ส.
คงเป็นกิจกรรม 5 ส. ที่ทุกคนเบื่อหน่าย
นำระบบการทำงาน 5 ส. มาปรับใช้ในองค์กร
ได้ดูระบบบริหารจัดการทางด้าน 5 ส. ที่ดีแบบยั่งยืน
แนวทางการจัดทำ / การดำเนินงาน 5 ส. ที่สามารถประสบความสำเร็จ
หลักการทำ 5 ส.
วิธีการดำเนินกิจกรรม 5 ส.
รูปแบบการจัดการ เพื่อพัฒนา 5 ส.
นำมาปรับปรุงพัฒนางาน
ได้ทราบการดำเนินงาน แนวคิด ในการจัดกิจกรรม 5 ส. ของบริษัท
งานจัดบอร์ด 5 ส.

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล( WORKING SAFETY WITH MACHINE)

การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล
( WORKING SAFETY WITH MACHINE)





การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล หรือการทำการ์ดเครื่องจักร หมายถึงการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ ที่ส่งผลให้เครื่อง จักรมีลักษณะ หรือคุณสมบัติที่ปลอดภัยต่อ การปฏิบัติ งานอย่างปกติ โดยไม่มีผลต่อ สมรรถนะ ของเครื่องจักร หรือต่อ ความ ชำนาญของเครื่องจักรกล นั้น ทำงาน
การทำการ์ดเครื่องจักรกลมีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องจักรกล แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
* เครื่องต้นกำลัง ( Prime mover machinery )
* เครื่องส่งกำลัง ( Transmission machinery )
* เครื่องจักรทำการผลิต ( Production machinery )



การทำงานกับเครื่องจักร ต้องระมัดระ วัง


เป้าหมายในการออกแบบการ์ดเครื่องจักรกล
1. ให้การป้องกันอันตรายตั้งแต้ต้นมือ หมายความว่า เครื่องจักรกลต้องไม่ทำงาน หากมีสิ่งแปลกปลอมไปอยู่ในบริเวณ อันตราย ของ เครื่อง จักรกล นั้น ลักษณะของการ์ดประเภทนี้ให้ ความ ปลอดภัยสูง

2. ให้การป้องกันมิให้ส่วน ของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตราย ในบางครั้งการควบคุม เครื่องจักรกลในทันทีทันใดอาจจะ กระทำ ไม่ได้ หรืออาจก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ เครื่องจักรดังนั้น การต่อเติมชิ้นส่วนบางชิ้นส่วน เข้าไปแล้ว ป้องกัน อันตรายได้จึงเป็นทางเลือกที่ดี

3. ให้ความสะดวกแก้ผู้ทำงานเช่นเดียวกับที่ไม่ใส่การ์ด การ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น การ มอง การจับ ชิ้นงาน การควบคุมการทำงาน และการตรวจ วัดขนาด

4. การ์ดที่ดีไม่ควรขัดขวางผลผลิต การใช้แผ่นกั้น หรือการปุ่ม 2 ปุ่มในเครื่องปั๊มขึ้นรูปให้ความปลอดภัยแก่คนงาน อาจจะทำให้ช้าบ้าง แต่ก็ต้อง ยอมรับ ผลผลิตกับความปลอดภัย ความปลอดภัยต้องมาก่อน

5. การ์ดเครื่องจักรกลควรใช้งานอย่างอัตโนมัติ หรือด้วยแรงงานน้อยที่สุดเมื่อเครื่องจักรเริ่มทำงาน การ์ดต้องทำงาน ทันที ถ้ามีการเคลื่อนย้าย เครื่อง ต้องไม่ทำงาน อาจจะมีการใช้ตา ไฟฟ้าช่วยได้

6. การ์ดควรเหมาะสมกับงาน และกับเครื่องจักรนั้น ๆ การ์ดที่สวยงาม หรูหราและสมบูรณ์แบบนั้นบางครั้งอาจจะ ไม่มีโยชน์ใน การป้องกัน อันตราย เลย เพราะขัดขวางกับการทำ งาน ระหว่าง คนกับเครื่อง

7. พนักงานจำเป็นต้องถอดออก

8. การ์ดที่ดีควรมีลักษณะติดมากับเครื่อง เป็นชิ้นส่วนหนึ่งของเครื่องมีความปลอดภัยในตัวสูงอยู่แล้ว

9. การ์ดที่ดีควรเอื้ออำนวยต่อการเติมน้ำมัน หรือซ่อมบำรุง ฝาครอบเครื่องจักร ที่ปิดครอบชุดเฟือง หรือสายพาน ควรทำ ให้เปิดซ่อมบำรุง

10. การ์ดที่ดีควรทนทานต่อการใช้งานปกติและมีการบำรุงรักษาน้อยที่สุด ฝาคือส่วนที่อยู่นอกสุดถ้าไม่แข็งแรงทนทาน อาจเป็นอันตรายต่อ ชิ้นส่วนภายในได้

11. การ์ดเครื่องจักรที่ดี ควรป้องกันอันตรายที่ไม่ได้คาดหมายได้ดี นอกจากอันตรายที่มองเห็นเฉพาะหน้า หมายความว่า ต้องป้องกันได้ ทุกสถานการณ์

หลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล
การทำการ์ดให้เกิดความปลอดภัย ในการใช้เครื่องจักรกล มี 4 ประการสำคัญ
1 .หลักการป้องกันหรือขัดขวางมิให้เข้าไปสัมผัสจุดอันตรายของเครื่อง ได้แก่
ออกแบบเครื่องจักรโดยวางจุดอันตรายไว้ภายใน จำกัดขนาดของช่องเปิดมิให้มือหรืออวัยวะอื่นเข้าได้
จัดช่องวางที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดการหนีบอัด หรือกระแทกของอวัยวะระหว่างผิวงานของเครื่องจักร แผ่นหรือตะแกรงปิดกั้นถาวร มิให้ส่วนที่มีอันตรายโผล่ หรือเปิดเผย ต่อการสัมผัสได้

2 . หลักการควบคุมโดยให้มือออกพ้นจากบริเวณอันตราย ได้แก่
การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม
การใช้ชุดควบคุมที่อยู่ใกล้ (Remote Control )

3 .หลักการเครื่องจะไม่ทำงานถ้าไม่เอามือออกไปจากเขตอันตราย ได้แก่ การใช้ระบบลำแสงนิรภัย
การใช้ก้านหรือราวป้องกัน ที่ควบคุมด้วยเครื่องด้วยที่เรียกว่าราวนิรภัยหรือฝาครอบนิรภัย

4 .หลักการปัดให้พ้นเขตอันตรายก่อนทำงาน ซึ่งได้แก่ เครื่องปัดมือออกก่อนตัด ตะแกรงกดหรือกวาดสิ่งกีดขวางก่อนใบมีดจะเคลื่อนไป


เมื่อ มี ปัญหาควรร่วม กัน คิด เพื่อแก้ไข




การทำงานกับเครื่องจักรที่ใช้มือต้องมั่นใจว่า ปลอดภัย



ตัวอย่างประยุกต์การใช้งานหลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล
1.การจัดช่องเปิดที่ปลอดภัย โดยการทำตะแกรงหรือกรงแผ่นกั้น เพื่อขัดขวางมิให้นิ้วมือเข้าไป สามารถมองเห็นภายในได้ ขนาดที่เหมาะสม ของช่องเปิดที่ปลอดภัยเป็นดังนี้


2. การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม สำหรับการทำงานคนเดียว


ข้อดีของการใช้ปุ่ม 2ปุ่ม
1. มือของคนงานจะต้องออกจากจุดอันตรายบนเครื่อง2. มือข้างหนึ่งข้างใดปล่อยจากปุ่ม เครื่องจะไม่ทำงาน

ข้อจำกัดในการใช้การ์ดแบบนี้
1. ใช้ไม่ได้กับงานที่คนงานต้องจับชิ้นงาน 2. เมื่อคลัทช์ชำรุด ชุดหัวอัดอาจทำงานซ้ำเป็นครั้งที่ 2 อาจทำอันตรายแก่มือคนงานได้

3. การใช้ระบบแสงนิรภัย โดยการใช้หลักว่า ลำแสงถูกบังจะทำให้เครื่องหยุดทำงานไม่ว่ากรณีใด ๆ หากเกิดความ บกพร่องต่อระบบแสง ทำให้แสงดับ เครื่องจะต้องไม่ทำงาน


ข้อดีในการใช้งาน
1. ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นวัสดุแข็ง หรือโลหะอื่นใดขวางหน้าอยู่ ทำให้สะดวกแก่การทำงานมาก

2 .คนควบคุมเครื่องมองเห็นได้ทั่วถึง

3. ใช้กับเครื่องขนาดใหญ่ที่ทำงานหลายแบบ ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้การ์ดชนิดอื่น

ข้อจำกัดในการใช้การ์ดแบบนี้
1. จะใช้กับเครื่องตัดที่สามรถหยุดได้ทุกขณะที่หัวตัด หรือหัวอัด ชนิดที่กำลังเคลื่อนตัวลงมาเท่านั้น ชนิดที่เคลื่อนแล้วหยุดจะใช้ไม่ได้ บริเวณแสงส่องต้องห่างจากจุดอันตรายมากพอ ที่จะมีเวลาให้เครื่องหยุดก่อนทัน ก่อนมือจะเข้าไปถึง

2. ต้องมีจำนวนแสงกว้างพอจึงจะปลอดภัย ต้องหมั่นตรวจและซ่อมบำรุง เพราะหากขาดไป 1 ดวงเครื่องจะไม่ทำงาน

4. การใช้ก้านนิรภัย ก้านนิรภัยมีหลายลักษณะ ทำงานด้วยการ กวาด หรือ ปัด ผ่านหน้าบริเวณอันตราย ก่อนที่อันตราย จะเกิด


ข้อดีในการใช้งาน
1. ใช้ได้กับเครื่องอัดขนาดเล็ก ๆเท่านั้น ขนาดกว้างไม่เกิน 6 นิ้ว

2. การเคลื่อนที่ของก้านนิรภัยเป็นไปตามการเคลื่อนที่ของหัวอัด แม้ว่าคลัทช์จะทำงานผิดพลาด ทำให้หัวอัดเคลื่อนตัวลงมา แขนนิรภัยก็จะทำงานอีกคู่กัน จึงปลอดภัยกว่า

3. ตัวการ์ดแบบนี้ง่ายแก่การปรับ

ข้อจำกัดในการใช้การ์ด
1. ความยาวของก้านนิรภัยจะต้องมากพอ ต่อการแกว่งและปัด ในระยะที่ยาวเท่ากับความยาวของช่วงอันตราย ถ้างานยาวมาก ก้านยาวจะไม่สะดวก

2. ในกรณีที่แท่นปั๊มมีขนาดใหญ่ หากมือคนงานเกิดติดอยู่ในแท่น แขนของคนงานอาจหักได้จากการปัดของก้าน

3. การใช้ก้านนิรภัยมิได้ห่อหุ้ม หรือปิดกั้นอันตรายไว้ แต่อย่างใด

5. การใช้เครื่องดึงมือออกก่อนการทำงาน


ข้อดีในการใช้งาน
1. เครื่องจะดึงมือคนงานออกทุกครั้งในจังหวะที่หัวอัดเคลื่อนที่ลงมา โดยความตั้งใจหรืออุบัติเหตุก็ตาม จึงปลอดภัย

2. อุปกรณ์ดึงมือนี้ต่อกับเครื่อง จึงไม่ต้องเพิ่มแรงงาน หรือ ความยุ่งยากใด ๆ เพิ่มจากการทำงานปรกติของคนงาน

3. ให้ความปลอดภัยสูง หากได้รับการออกแบบและปรับระยะให้เหมาะสม

4. ไม่ขัดขวางหรือบังสายตาคนงานแต่อย่างใด

ข้อจำกัดในการใช้การ์ดนี้
1. ใช้ได้เฉพาะกับระบบงานสมบูรณ์แบบคนงาน ไม่ต้องเดินไปไหนเท่านั้น

2. เกิดเหตุฉุกเฉินคนงานอาจตกใจและวิ่งหนีออกไปไม่ทัน

3. คนงานอาจละเลยต่อการสวมลวดดึงเข้ากับข้อมือก็ได้

4. การปรับระยะดึงที่เหมาะสมต้องกระทำอยู่เสมอ

5. เมื่อเปลี่ยนชิ้นงานที่มีขนาดผิดไป ต้องปรับระยะดึงให้เหมาะสมใหม่

6. หากแท่นหัวเคลื่อนที่สั้น ๆ ต้องมีระบบ รอกทดสอบ เพื่อขยายระยะชักให้เพียงพอ

7. ต้องใช้เนื้อที่หนาแท่นเครื่องบางส่วนในการติดตั้งอุปกรณ์ ทำให้เปลืองเนื้อที่ไปบ้าง


6. การใช้แผ่นกั้นเคลื่อนที่ได้

ข้อดีในการใช้งาน
1. เมื่อแผ่นกั้นยกเลื่อนขึ้น แท่นหัวอัดจะไม่เคลื่อนตัวลงมาเด็ดขาด ทำให้ปลอดภัย

2. ตราบใดที่แผ่นกั้นปิดไม่สนิท เครื่องจะไม่ทำงาน

3. ปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนแบบเป็นวิธีอื่น ๆได้

ข้อจำกัดในการใช้การ์ดนี้
1. หากกลไกควบคุมคลัทช์บกพร่อง แผ่นกั้นอาจไม่สามารถ ล็อกชุดหัวอัดมิให้เคลื่อนตัวลงมาได้

2. หากออกแบบไว้ไม่เหมาะสม อาจกดลงด้วยแรงมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อคนคุมเครื่องโดยตรง

7. การใช้แผ่นกั้นแบบอยู่กับที่ แผ่นกั้นแบบนี้ เป็นได้ทั้งโลหะแผ่น พลาสติก ตะแกรงลวดหรือตะแกรงเหล็ก ที่มีขนาด เล็ก พอที่จะ ไม่ให้มือ ลอด ผ่านได้ เหมาะสมกับเครื่องทีมีกำลัง การทำงานจำกัด ชิ้นงานมีความเปลี่ยนแปลง ขนาด ไม่มาก ตัวอย่างที่เหมาะสม คือเครื่องตัดโลหะแผ่น ซึ่งจะ ตัดโลหะที่ความหนาจำกัด จะเปลี่ยนเฉพาะขนาดความ กว้างเท่านั้น ดังนั้นสามรถติดตั้งแผ่นกั้นอย่างถาวรได้ โดยทิ้งช่องห่างของทางเข้า ออกมีค่า ที่ปลอดภัย

8. การใช้แผ่นกั้นชนิดพับได้


9.การใช้คนเจ็บเป็นตัวป้องกันอันตราย หลักการคือ คนงานที่ได้รับอันตรายจะหมดสติ จะต้องกระโดด หรือ เคลื่อนที่ ตำแหน่งเท้าไปจากเดิม ดังนั้น ตำแหน่งวางเท้าใช้ควบคุมเครื่องได้ คนงานจะเหยียบคันบังคับที่เท้าข้างใดก็ได้ เครื่อง จึง จะทำงาน เมื่อประสบอันตราย ปล่อยขาเหยียบจะหยุด ทำงานทันที

10.ใช้เครื่องมือจับชิ้นงานป้อนแทนมือ ซึ่งอาจจะเห็นว่าถนัดสู้ใช้มือไม่ได้ แต่ในระยะแรกอาจไม่ชำนาญ แต่เมื่อ เวลา ผ่านไป จนทำงาน ชำนาญ แล้ว ความรวดเร็วจะไกล้เคียงกันมาก เครื่องมือจับชิ้นงานอาจประกอบด้วย ตะขอเกี่ยว คีมคีบ คีมหนีบ แผ่นแซะ หัวจับด้วยแม่เหล็ก หัวจับด้วย สุญญากาศ


ปัจจัยในการพิจารณาในการเลือกใช้ เครื่องมือจับชิ้นงาน
1. ออกแบบเครื่องมือให้ใช้สะดวก และถนัดมือที่สุด เช่น น้ำหนักเบา ได้ศูนย์ มีด้ามจับ สะดวก หยิบง่าย

2. คีมหนีบแบบต่าง ๆ ควรติดสปริงคายไว้ เพื่อให้คีมคายปาก คีบออกได้เองเมื่อปล่อยมือออก

3. เพื่อลดความสึกหรอของแม่พิมพ์ หรือขอบชิ้นงานตรงปลายหนีบของคีมจับควรสวมต่อด้วยวัสดุอ่อนที่เหมาะสม

4. วัสดุที่ใช้ทำคีมควรคงทนต่อสภาพการใช้งาน โดยเฉพาะตรงปากจับไม่ควรเป็นสนิม


























































จป. คืออะไร?

ชื่ออาชีพ : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) Safety Officer

รหัสอาชีพ : 1-94.50 (TSCO) 2412 (ISCO)

นิยามอาชีพ :
ผู้ประกอบอาชีพนี้ทำหน้าที่แนะนำ กำกับดูแล รับผิดชอบให้พนักงานในสถานประกอบการได้รับความปลอดภัยในการทำงาน และสำรวจตรวจสอบความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้จากเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เสนอให้มีการป้องกัน หรือแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน ตามกฎหมายความปลอดภัยที่ประกาศใช้โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ลักษณะของงานที่ทำ :
ตามกฎหมายข้อบังคับให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ หรือโรงงาน อุตสาหกรรมที่มีพนักงานหรือลูกจ้างตั้งแต่ 1-49 คน จะต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 3 ระดับ ดังนี้ ระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ถ้ามีพนักงาน 50 คนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 3 ระดับ ดังนี้ หัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับวิชาชีพ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐาน
1. ให้พนักงานปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ หรือมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน 2. สำรวจสภาพการทำงาน และรายงานสภาพความไม่ปลอดภัยตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อนายจ้าง
3. รายงานการเกิดการประสบอุบัติเหตุอันตราย หรือการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของลูกจ้าง ต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
4. ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
5. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหารมอบหมาย
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
1. กำกับดูแลให้ลูกจ้างในหน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
2. สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
3. ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
4. ตรวจสอบสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญอันเนื่องมาจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐานหรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลรวมทั้งข้อเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
5. ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
6. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
1. กำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ระดับหัวหน้างานและระดับวิชาชีพ ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกฎระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
2. ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
หน้าที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
1. ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
2. จัดทำแผนงาน โครงการ มาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
3. ตรวจสอบการปฏิบัติงานของสถานประกอบการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการหรือมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
4. กำกับดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
5. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
6. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องมากจากการทำงาน และรายงานผลรวมทั้งข้อเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
7. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายจากการเจ็บป่วย หรือเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องมาจากการทำงานของลูกจ้าง

สภาพการทำงาน : ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจปฏิบัติหน้าที่ภายในตัวอาคารของสถานประกอบกิจการ หรือกลางแจ้งที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจและชีวิต เช่น โรงงานผลิตประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุงรักษา ปรับปรุงตกแต่ง ดัดแปลงเพื่อการค้าแปรสภาพรวมถึงการต่อเรือ อู่เรือ การให้กำเนิดแปลงและจ่ายไฟฟ้า หรือพลังงานอย่างอื่น เหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตเลี่ยม หรือสถานที่ก่อสร้าง เช่น ต่อเติม ซ่อมบำรุง สนามบิน ทางรถไฟ โทรเลข โทรศัพท์ไฟฟ้า ก๊าซ การขนส่งคนโดยสารทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ รวมทั้งการขนถ่ายสินค้าสถานีบริการ หรือจำหน่วยน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ เป็นต้น ในสถานที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อสุขภาพและร่างกาย ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ต้องใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน เช่น แว่นตา หมวกนิรภัย เครื่องป้องกันหน้า ปลั๊ก และที่ครอบหูลดเสียง ที่ครอบปากและจมูก ชุดกันความร้อน ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ เข็มขัดนิรภัย รองเท้า ครีมทาผิว หรือเครื่องเฝ้าอันตรายที่ติดตัวบุคคล เช่นเดียวกับพนักงานคนอื่นๆ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ : ผู้ที่ปฏิบัติอาชีพนี้ในระดับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ที่ต้องปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า หรือสาขาอื่นที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับคงวามปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจะต้องเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการอบรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยใหม่ ลงวันที่ 31 มีนาคม 2540

โอกาสในการมีงานทำ : เนื่องจากกฎหมายเพิ่งบังคับใช้ ทำให้สถานประกอบการทุกแห่งทั่วประเทศที่มีพนักงานหรือ ลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องทำการว่าจ้างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพทุกองค์กร ดังนั้นตลาดแรงงานในอาชีพนี้จึงยังมีความต้องการบุคลากรประเภทนี้อยู่มาก

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ : สำหรับผู้มีความสามารถอาจจะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับผู้บริหารและอาจเป็นผู้จัดการฝ่าย หรือฝ่ายบริหารสูงสุดแล้วแต่โครงสร้างของสายงานขององค์กร

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาพอุบัติเหตุจากการทำงาน



































































รวบรวมภาพอุบัติเหตุจากการทำงาน...เราต้องร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดภาพเหล่านี้เกิดขึ้นมาอีก











การบริหารงานความปลอดภัยอย่างมืออาชีพ

การบริหารงานความปลอดภัยอย่างมืออาชีพเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับวิชาชีพ นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพให้มีหน้าที่และทำงานเต็มเวลา โดยผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติครบตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และต้องมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพเป็นเลขานุการคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง กรณีที่มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 1 คนต้องแต่งตั้ง1 คน ดำรงตำแหน่ง จป. ที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วและได้รับการแต่งตั้ง ต้องปฏิบัติงานความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมายกำหนด

เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)

เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่สวมใส่ลงบน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือหลาย ๆส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่ อวัยวะส่วนนั้น ๆ ไม่ให้ต้องประสบกับอันตราย คือ เป็นการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแบ่งออกเป็นชนิดตามลักษณะที่ใช้ป้องกันได้ดังนี้
1.เครื่องป้องกันศีรษะ เช่น หมวกนิรภัย เป็นเครื่องสวมใส่ศีรษะ มีลักษณะแข็งแกร่ง ทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไป เพื่อป้องกันศีรษะของคนงานซึ่งไม่เพียงแต่จากการกระแทก แต่รวมทั้งวัตถุที่ปลิวหรือกระเด็นมาโดน และไฟฟ้าช็อต หมวกนิรภัย ชนิดถูออกแบบให้ส่งผ่านแรงเฉลี่ยที่มากที่สุดได้ไม่เกิน 850 ปอนด์ ตัวหมวกและรองในหมวกต้องห่างภัยไม่ต่ำกว่า 3 ซม.
2.เครื่องป้องกันตาและใบหน้า การทำงานในลักษณะของงานที่อาจเป็นอันตรายแก่สายตาและใบหน้า ต้องสวมใส่อุปกรณ์ เช่นแสงจ้าชนิดที่มีอุลตร้าไวโอเลต ป้องกันโดยใช้หน้ากากกรองแสง ดังในกรณีงานเชื่อมและหน้ากากป้องกันเศษโลหะในกรณีทำงานกับหินเจียรนัย
3.เครื่องป้องกันอันตรายขาดการหายใจ ชนิดเป็นถุงอากาศช่วยในการหายใจ อุปกรณ์นี้เหมาะจะใช้กับบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารเคมีเป็นพิษสูง ที่มีไอน้ำหนาแน่น หรือในที่ขาดออกซิเจน หน้ากากที่มีเครื่องเป่าอากาศ ชนิดนี้จะใช้ได้ดีในลักษณะงานที่ทำในที่อับทึบ อุโมงค์ ท่อขนาดใหญ่งานประมาณนี้จะอ๊อกซิเจนไม่เพียงพอหรือมีสารเคมีเป็นพิษปะปนอยู่มาก เครื่องเป่าอากาศ (Blower)ทำหน้าที่เป่าอากาศเข้ามา ท่อส่งอากาศปกติจะยาวไม่เกิน 150 ฟุต ต่อเข้ากับหน้ากาก หน้ากากใช้กรองสารเคมี อุปกรณ์ชนิดนี้ประกอบด้วยหน้ากากปิดครึ่งใบหน้า มีที่กรองอากาศติดอยู่ที่บริเวณจมูก 1-2 อัน ทำหน้าที่กำจัดไอหรือแก๊สพิษที่จะหายใจเข้าไป เครื่องกรองฝุ่นชนิดนี้จะใช้กรองฝุ่นโดยเฉพาะ หน้ากากทำด้วยยางหรือ พลาสติก ปิดจมูกโดยมีแผ่นกรองบาง ๆ เป็นตัวจับฝุ่นเอาไว้ไม่ให้เข้าไปกับอากาศที่ผ่านเข้าไป
4.เครื่องป้องกันหู จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเสียงนั้น พบว่าถ้าหากหูของคนต้องสัมผัสกับเสียงที่ดังเกินกว่า 90 เดซิเบลแล้ว จะทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน วิธีที่จะช่วยลดความดังของเสียงลงมานั้น การป้องกันที่ตัวคน คือการใช้เครื่องป้องกันหู ปกติจะแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้หลายชนิดดังนี้ ที่อุดหู ใช้อุดหูทั้งสองข้าง โดยสอดใส่เข้าไปในช่องหู ออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะกับรูหู จะมีผลในการป้องกันเสียงมาก วัสดุที่ใช้ทำนั้น มีหลายชนิด เข่น พลาสติกอ่อน ยาง สำลี ชนิดที่ทำจากยางและพลาสติกใช้มากที่สุด ที่ครอบหู เป็นเครื่องป้องกันเสียงชนิดครอบใบหูทั้งสองข้าง บางชนิดมีลำโพงสำหรับใช้พูดติดต่อกันได้ในสถานที่มีเสียงดัง
5.ชุดพิเศษในโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมภายในโรงงานต้องสัมผัสต่อไปความร้อนโลหะละลาย สารเคมี จึงต้องชุดป้องกันพิเศษสำหรับงานนั้นๆ โดยเฉพาะลงไป เช่น เช่นเสื้อหนังหรือแผ่นหนังปิดหน้าอก เป็นชุดที่จะป้องกันร่างกายของคนเราไม่ให้ถูกความร้อน และการแผ่ความร้อนที่เกิดจากโลหะถูกเผาและการรับรังสีอินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลต ถุงมือและปลอกแขน สารที่มาทำถุงมือและปลอกแขนขึ้นอยู่กับงานสำหรับเบาอาจทำด้วยผ้า สำหรับงานที่เกี่ยวกับวัตถุที่คมและความร้อนใช้หนังสัตว์ทำ หรือทำด้วยตาข่ายโลหะก็จะต้องกันคมได้ดี เสื้ออลูมิเนียม เมื่อคนต้องทำงานเกี่ยวกับความร้อนที่มี อุณหภูมิประมาณ 2000 องศาฟาเรนไฮด์ เช่น ในที่มีการหลอมโลหะ เสื้ออลูมิเนียมมันจะสะท้อนรังสีความร้อนที่แผ่ออกมา ชุดนี้ประกอบด้วย กางเกง เสื้อคลุม ถุงมือ รองเท้าหุ้มข้อ และที่ครอบศีรษะ
6.รองเท้านิรภัย อาจจะเป็นรองเท้าธรรมดา ใส่เครื่องป้องกันครอบลงไปหน้ารองเท้า ควรจะรับน้ำหนักได้ 2500 ปอนด์ และแรงกระแทก 50 ปอนด์ รองเท้านิรภัยจะมีโลหะป้องกันที่หัวรองเท้า อยู่ที่หัวรองเท้าอยู่ข้างในใช้ในงานที่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุที่หนัก
7.เข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม หรือใช้ในการทำความสะอาดหน้าต่างภายนอกตึกสูง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดธรรมดา ชนิดนี้จะใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวผู้ใช้ในขณะทำงานให้สามารถทำงานได้โดยสะดวก ซึ่งอาจจะขึ้นไปทำงานในที่สูงหรือทำงานในที่ต่ำลงไป ชนิดที่ใช้ยามฉุกเฉิน ใช้ป้องกันไม่ให้คนทำงานตกลงมาในเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน (ความปลอดภัยทั่วไป)

ความปลอดภัยในการทำงาน (ความปลอดภัยทั่วไป)
การพัฒนาทัศนคติและนิสัยในการทำงานด้วยความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยจึงนับได้ว่าเป็นหัวใจของการทำงาน ผู้ที่ปฏิบัติงานได้ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ จากการสำรวจบุคคลที่ได้รับอันตรายจากการทำงานส่วนใหญ่มักขาดความเอาใจใส่ในเรื่องความปลอดภัย จึงก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและชีวิตของตนเอง เพื่อนร่วมงานและทรัพย์สิน ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด แล้วเราจะปลอดภัยจากอันตรายหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ
สาเหตุของอุบัติเหตุจากการทำงาน
” อุบัติเหตุ " หมายถึง สิ่งที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า ไม่ได้ควบคุมหรือไม่คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นมาได้
อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด อันเป็นผลมาจากการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สาเหตุโดยทั่วไปของอุบัติเหตุอาจแบ่งได้ดังนี้
1.ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักเกิดกับบุคคลที่เข้าทำงานใหม่ ๆ หรือเข้าทำงานกับเครื่องมือ เครื่องจักรใหม่ โดยที่ไม่ได้รับคำอธิบายถึงการปฏิบัติและการทำงานของเครื่องมือเครื่องจักรโดยละเอียดจึงมักจะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย ๆ การสอนเกี่ยวกับความปลอดภัยยังไม่ดีพอ กฎความปลอดภัยไม่มีผลบังคับใช้ ไม่ได้วางแผนงานความปลอดภัยไว้เป็นส่วนหนึ่งของงาน จุดอันตรายต่าง ๆ ไม่ได้ทำการแก้ไข อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่ได้จัดให้ ขาดความรู้หรือไม่ได้ตระหนักในเรื่องความปลอดภัย
2. ความประมาท เกิดจากมีความเชื่อมั่นมากเกินไปเนื่องจากทำงานมานาน การละเลยไม่เอาใจใส่หรือมีทัศนคติผิด ๆในเรื่องความปลอดภัย เครื่องป้องกันอันตรายหรือเครื่องกั้นจัดไว้ให้ แต่ไม่ใช้หรือถอดออก ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ถูกต้องกับลักษณะของงานที่ทำ ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือที่ถูกต้องให้เลือกใช้ได้เหมาะสมก็ตาม ยกของด้วยวิธีผิด ๆ จนน่าจะเกิดอันตราย อริยาบทในการเคลื่อนไหวน่าจะเกิดอันตราย เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การก้าว การปีนป่าย การหยอกล้อ หรือล้อเล่นในระหว่างการทำงาน
3. สภาพร่างกายของบุคคล เมื่อยล้า เนื่องจากทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดพัก อ่อนเพลีย เนื่องจากไม่สบายเป็นไข้ แล้วเข้าทำงานหนัก หูหนวก สายตาไม่ดี โรคหัวใจ สภาพร่างกายไม่เหมาะกับงาน
4. สภาพจิตใจของบุคคล ขาดความความตั้งใจในการทำงาน ขากความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในขณะทำงาน ตื่นเต้นง่าย ขวัญอ่อน ตกใจง่าย
5. อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร มีข้อบกพร่อง อาจเนื่องจากสาเหตุ เช่น ใช้เครื่องมือไม่ถูกขนาด ใช้เครื่องมือที่สึกหรอชำรุด ทื่งอ หัก ใช้เครื่องมือที่ปราศจากด้ามหรือที่จับที่เหมาะสม ไม่ใช้เครื่องป้องกันอันตราย จับตั้งงานไม่ได้ขนาด และไม่มั่นคง ละเลยต่อการบำรุงรักษา เช่น น้ำมันหล่อลื่นไม่เพียงพอ
6. สภาพของบริเวณปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ เสียงดังมากเกินไป การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม ความสกปรก บริเวณที่คับแคบ มีสารเคมี และเชื้อเพลิง พื้นที่ลื่น เนื่องจากคราบน้ำมัน หลุมและสิ่งกีดขวางทางเดิน การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ การที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นแต่ละครั้งย่อมหมายถึงการสูญเสียเกิดขึ้นทุกครั้ง เช่น การสูญเสียเงิน สูญเสียเวลา อย่างไรก็ดี คงไม่มีผู้ใดปรารถนาจะให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

1.การสูญเสียโดยตรง
ได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือตาย และอาจทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายด้วย ทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ตลอดจนทรัพย์สินอื่น ๆชำรุดเสียหาย การสูญเสียที่คิดเป็นเงินที่นายจ้างหรือรัฐบาลต้องจ่ายโดยตรง ให้แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนที่ต้องจ่ายโดยรัฐหรือโรงงาน ค่าทำขวัญ
2. การสูญเสียโดยทางอ้อม
คือ การสูญเสียซึ่งมักจะคิดไม่ถึง หรือไม่ค่อยได้คิดว่าเป็นการสูญเสียเป็นลักษณะการสูญเสียที่แฝงอยู่ไม่ปรากฏเด่นชัด เช่น สูญเสียแรงงานของลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ จะต้องใช้เวลาพักฟื้นจนกว่าจะหาย สูญเสียเวลาของลูกจ้างคนอื่น ๆ ซึ่งหยุดทำงานในขณะเกิดอุบัติเหตุด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ความอยากรู้อยากเห็นเข้าไปมุงดู ซักถามเหตุการณ์ด้วยความเห็นใจลูกจ้างผู้บาดเจ็บ ตื่นเต้น หรือช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในการทำปฐมพยาบาลหรือนำส่งโรงพยาบาล สูญเสียเวลาของแพทย์หรือพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในการปฐมพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักรกล เครื่องมือ ทำให้ปริมาณผลผลิตขาดหายไป ผลิตให้ผู้ใช้ไม่ทันเวลา เงินรางวัล โบนัสประจำปีลดน้อยลงไป สูญเสียผลกำไรส่วนหนึ่งไป เนื่องจากลูกจ้างบาดเจ็บและเครื่องจักรหยุดทำงาน ทำให้คนงานขวัญเสีย เกิดความกลัว ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
การทำงานในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น จะต้องสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละคนได้รับพิษภัย และการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการทำงานแตกต่างกันไปตามสถานะภาพ ในหน้าที่การงานของแต่ละคน อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงานพิจารณาได้ดังนี้
เสียงดัง คนทำงานโดยทั่วไปประมาณวันละ 8 ชั่วโมง จะรับระดับเสียงได้ไม่เกิน 90 เดซิเบล ถ้าดังเกินไปจะทำให้หูตึง และอาจหูหนวกได้
แสงสว่าง แสงสว่างมากเกินไป อาทิ เช่น จากเตาหลอม ไฟเชื่อม ทำให้ตาฝ้า ตามัว และอาจบอดได้
ความร้อน ถ้าไม่มีการป้องกันความร้อนที่ดีแล้วอาจได้รับอันตรายจากความร้อน เช่น ทำให้อ่อนเพลียไม่มีแรง หน้ามืดบ่อย ๆ และอาจเป็นลมสลบได้
ความกดดัน อากาศในบริเวณปฏิบัติงานที่มีความกดดันสูงกว่าปกติ จะทำให้เกิดอาการปวดหู อาจทำให้เยื่อหูฉีกขาด และทำให้หูหนวกในที่สุด
ความสั่นสะเทือน อาจทำให้ เนื้อเยื่ออ่อนของมือ เกิดอาการอักเสบลุกลามไปถึงกระดูกข้อมือ หรือทำให้กล้ามเนื้อมือเป็นอัมพาตหรือทำให้อวัยวะบางส่วนลีบได้
สารเคมี ฝุ่น ไอ ควัน ละอองแก๊ส ของสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางคือ
โดยการหายใจ สารเคมีเมื่อเข้าไปถึงปอดจะถูกดูดซึมอย่างเร็วทำให้เกิดโรคปอดได้
โดยการดูดซึมทางผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเป็นแผล เกิดอาการเป็นพิษต่อ ระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย
โดยการกินเข้าไป

สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับวัสดุบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ วัสดุเหล่านี้ได้แก่ วัสดุที่มีขอบแหลมคม วัสดุที่วางไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีสิ่งจับยึด แขวนไว้เหนือศีรษะโดยไม่มีเครื่องป้องกันอันตราย หรือวางไว้เกะกะบนพื้น วัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ขยะมูลฝอย สารเคมีที่เป็นพิษ วัสดุที่มีอุณหภูมิสูง เช่น โลหะที่เผาจนร้อนจัด น้ำร้อน ไอน้ำหรืออากาศที่มีความดันสูง เช่น หม้อไอน้ำ เครื่องปั้มลม สื่อไฟฟ้าที่ปราศจากฉนวนหุ้ม บันไดที่หัก หรือนั่งร้านที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง

หลักความปลอดภัยในการทำงานโดยทั่วไป
* จะต้องยอมรับ และปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานโดยเคร่งครัด
* ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกกับงาน
* แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงงาน และใช้เครื่องป้องกันอันตรายทุกครั้งที่ปฏิบัติงานที่กำหนดให้ใช้เครื่องป้องกัน
* หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
* เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมื่อนำไปใช้งานต้องเก็บไว้ให้ถูกจุดทุกครั้ง
* รักษาความสะอาดทางเดินในโรงงาน และติดป้ายแสดงให้ชัดเจนที่บริเวณปฏิบัติงานที่มีอันตราย
* รู้จักตำแหน่ง หรือที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงตลอดจนวิธีการใช้
* ปฏิบัติตามคำเตือนหรือเครื่องหมายแสดงอันตรายใด ๆ ภายในโรงงาน
* อย่าวิ่งหรือหยอกล้อกันในโรงงาน
* ในกรณีเกิดอุบัติเหตุให้รีบช่วยเหลือทันที

สัญลักษณ์ความปลอดภัย
















เครื่องหมายห้าม (Prohibition Signs) สีแดง

หน้าที่คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หน้าที่คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
10. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ


หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน
4. วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3
7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน
8. ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ
9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
10. ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
11. รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย